วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเขียนภาพด้วยเทคนิคผสม

0 ความคิดเห็น

การเขียนภาพด้วยเทคนิคผสม

             การเขียนภาพด้วยเทคนิคผสม โดยวิธีการนำเทคนิคด้านต่าง ๆ มาผสมผสานกันในภาพเดียว นับเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของการคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลง เพื่อให้เกิดผลงานที่แปลกใหม่ และหลากหลายในการนำเสนอ
               สีน้ำกับการวาดเส้น มีวิธีเขียนภาพได้  2 แบบ คือ
                   1) วาดเส้นก่อนระบายสีน้ำ วิธีนี้ให้ปฏิบัติการวาดเส้นด้วยหมึก จะใช้พู่กันหรือปากกาจุ่มหมึก หรือจะใช้ปากกาชนิดต่าง ๆ ก็ได้ โดยเลือกหมึกชนิดไม่ละลายน้ำ แล้วจึงระบายสีน้ำลงไปจะดูสวยงามแปลงตาไปอีกแบบหนึ่ง
                      2) ระบายสีน้ำก่อนวาดเส้น วิธีนี้เป็นการระบายสีน้ำลงบนภาพที่ร่างเบา ๆ ด้วยดินสอ เมื่อระบายสีเสร็จแล้วต้องรอให้แห้งแล้วจึงใช้หมึกดำวาดเส้นทับหรือที่เรียก กันว่า
"ตัดเส้น"

สีน้ำกับเทคนิคระบายวิธีอื่น

  1. การเป่าสี คือ การหยดสีลงบนพื้น แล้วใช้แรงลมจากปากเป่า จะเกิดการไหลของสีเป็นกิ่งก้านคล้ายลักษณะของต้นไม้ ซึ่งเป็นรูปแบบฟอร์มอิสระ
  2. การรีดสี คือ การให้สีผสมกันเองตามธรรมชาติ โดยการบีบสีใส่กระดาษงาน แล้วนำกระดาษอีกแผ่นหนึ่งมาปิดทับ แล้วใช้นิ้วมือกดรีดมีที่อยู่ในกระดาษ จะเกิดการผสมกันเองตามธรรมชาติดูสวยงามขึ้น
  3. สีไหล คือ การไหลของสีบนพื้นกระดาษที่เปียกชุ่มน้ำ กรรมวิธีโดยนำน้ำทาที่ผิวกระดาษ แล้วนำสีแต้มหรือทาที่ผิวกระดาษชุ่มน้ำ แล้วตะแคงกระดาษ สีจะเกิดการไหลตามผิวน้ำ ดูสวยงามตามธรรมชาติอีกแบบหนึ่ง

สีโปสเตอร์

      สีโปสเตอร์ คือ สีที่ลักษณะเป็นสีทึบแสง มีขายลักษณะเป็นขวด มีทั้งชนิดสะท้อนแสงและไม่สะท้อนแสง
คุณสมบัติของสีโปสเตอร์
  1. เป็นสีชนิดทึบแสง จะทำให้สีอ่อนลงต้องผสมด้วยสีขาว
  2. ไม่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
  3. สามารถระบายสีทับซ้อนสีเก่าได้
       สีน้ำกับสีโปสเตอร์  โดยใช้สีน้ำระบายภาพผสมกับการระบายด้วยสีโปสเตอร์เทคนิคผสมแบบนี้ไม่มีอะไร ซับซ้อน เพียงการเลือกลงสีของผู้ปฏิบัติว่าได้ออกแบบไว้ให้พื้นที่ส่วนใดเป็นสี โปสเตอร์และพื้นที่ส่วนใดเป็นสีน้ำเท่านั้น
                                                              ที่มา
http://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy-ab&q=%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1&oq=%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%94&gs_l=serp.1.3.0l4.10852.12197.1.16620.8.8.0.0.0.0.101.748.7j1.8.0...0.0...1c.1.4.psy-ab.of1IVlmcHMw&pbx=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&fp=9419d6ab6e7384b3&biw=1366

เทคนิคการแรงเงา

0 ความคิดเห็น

เทคนิคการแรเงาน้ำหนัก

การแรเงาน้ำหนัก เป็นการวาดเขียนภาพเหมือนจริง ควรเริ่มฝึกการแรเงาภาพ  เพื่อฝึกการเขียนภาพแสดงออกถึงทักษะ ความละเอียดลออในการวาดภาพ การแรเงาสามารถทำให้ภาพดูมีความลึกมีระยะใกล้ไกลและดูมีปริมาตร เปลี่ยนค่าของรูปร่างที่มีเพียง 2 มิติให้เป็น 3 มิติ ทำให้รูปร่างที่มีเพียงความกว้าง-ยาวเปลี่ยนค่าเป็นรูปทรงมีความตื้นลึกหนา บางเกิดขึ้น

การเขียนภาพแสงเงา ผู้เขียนจำต้องเข้าใจการจัดน้ำหนักอ่อนแก่ให้ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักของแสง ที่ตกกระทบผิววัตถุ เพราะความแตกต่างของน้ำหนักทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันไปได้ เช่น น้ำหนักสีที่อ่อนให้ความรู้สึกเบา น้ำหนักสีที่แก่ทำให้ดูแล้วรู้สึกหนัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดระยะใกล้-ไกล ในการมองเห็น ตลอดจนความรู้สึกด้านความงามในทางศิลปะ
ในบทความนี้นำเสนอวิธีการแรเงา เป็นพื้นฐานการศึกษาเบื้องต้น ดังนี้

เทคนิคการแรเงา

1.  หรี่ตาดูวัตถุที่เป็นหุ่น กำหนดพื้นที่แบ่งส่วนระหว่างแสงเงาออกจากกันให้ชัดเจนด้วยเส้นร่างเบาๆบนรูป ทรงของภาพร่างที่วาดไว้นั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคร่าวๆ คือ แสงกับเงาเท่านั้น

2.  แรเงาน้ำหนักในส่วนพื้นที่ที่เป็นเงาทั้งหมด ด้วยน้ำหนักเบาที่สุดของเงาที่ตกทอดบนวัตถุ และเว้นพื้นที่ส่วนที่เป็นแสงไว้

3.  พิจารณาเปรียบเทียบน้ำหนักที่เบาที่สุดกับน้ำหนักที่เข้มในส่วนขึ้นอีก เท่าใด แล้วแบ่งน้ำหนักเงาที่อ่อนกับเงาที่เข้มขึ้นด้วยวิธีร่างเส้นแบ่งพื้นที่ เบาๆ เช่นกันกับข้อ 1 จากนั้นก็แรเงาเพิ่มน้ำหนักในส่วนที่เข้มขึ้น ตลอดเวลาจะต้องเปรียบเทียบน้ำหนักของเงาที่ลงใหม่กับเงาอ่อนและแสงที่เว้น ไว้อยู่เสมอเพื่อให้การแรเงาน้ำหนักได้ใกล้เคียงความเป็นจริง การแรเงาน้ำหนักต้องลงรวมๆ ไปทีละน้ำหนัก จะทำให้คุมน้ำหนักได้ง่าย

4.  การแรเงาน้ำหนักที่เข้มขึ้นจะใช้วิธีการเดียวกับข้อ 1 และข้อ 3 จนครบกระบวนการ จะทำให้ได้ภาพที่มีน้ำหนักแสงเงาใกล้เคียงกับความเป็นจริงจากนั้นเกลี่ย น้ำหนักที่แบ่งไว้ในเบื้องต้นให้ประสานกลมกลืนกัน

5.  พิจารณาในส่วนของแสงที่เว้นไว้ จะเห็นว่ามีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับในส่วนของเงาต้องใช้ดินสอลงน้ำหนัก แผ่วๆ ในส่วนของแสงที่เว้นไว้ เพื่อให้รายละเอียดของแสงเงามีน้ำหนักที่สมบูรณ์

6.  เงาตกทอด ใช้หลักการเดียวกับการแรเงาน้ำหนักบนวัตถุที่กล่าวมาแล้ว แต่ต้องสังเกตทิศทางของแสง ประกอบการเขียนแสงในการวาดเขียนปกติจะใช้ประมาณ 45 องศากับพื้น แต่มีข้อสังเกต คือ ถ้าแสงมาจากมุมที่สูง จะเห็นเงาตกทอดสั้น ถ้าแสงมาจากมุมที่ต่ำลง เงาตกทอดจะยาวขึ้น ในส่วนน้ำหนักของเงาตกทอดเองก็จะมีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงเงาบนวัตถุ คือเงาที่อยู่ใกล้วัตถุจะมีความเข้มกว่าเงาที่ทอดห่างตัววัตถุสาเหตุมาจาก แสงสะท้อนรอบๆ ตัววัตถุที่สะท้อนเข้ามาลบเงาให้จางลง

การแรเงาให้เกิดมิติใกล้-ไกล

      ความอ่อน- แก่ของน้ำหนัก นอกจากจะ ใช้เพื่อสร้างมิติให้เกิดความรู้สึก สูง ต่ำ หนา บาง แก่ วัตถุในภาพแล้ว น้ำหนักยังใช้สร้างมิติให้เกิดความรู้สึกใกล้-ไกลของวัตถุในภาพอีกด้วย 

      ค่าน้ำหนักถ้า ใช้ในการสร้างความรู้สึกด้านมิติแก่วัตถุ ค่าน้ำหนักแก่จะให้ความรู้สึกต่ำหรือลึกลงไป ค่าน้ำหนักที่อ่อนจะให้ความรู้สึกที่สูงหรือนูนขึ้นมา

      การสร้างความรู้สึกด้านระยะใกล้-ไกล ระยะ ใกล้จะใช้ค่าน้ำหนักแสงเงาที่ชัดเจนกว่าระยะไกล ระยะกลางก็ใช้ค่าน้ำหนักที่อ่อนลง และระยะไกลก็จะแรเงาให้อ่อนที่สุด หรือเน้นรายละเอียด หรือเส้นให้น้อยกว่าระยะกลางและใกล้







                                               ที่มา
http://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy-ab&q=การแรงเงาภาพ&oq=การแรงเงาภาพ&gs_l=serp.3..0i10l3.278726.293430.0.293934.33.23.3.0.0.4.413.2911.7j15j4-1.23.0...0.0...1c.1.4.psy-ab.NUZGtKOGgXI

การร่างภาพก่อนวาด

0 ความคิดเห็น
ART TRIP : เส้นทางแห่งงานศิลปะ
พื้นฐานการวาดภาพ


เห็นแล้วอยากวาด(รูป) อยากทำ(วาด) อยากสะกิด(สี+ดินสอ+ฝีแปรง)
เพื่อสะกดคนทั้งโลกให้ตะลึงงุนงง+งงงัน แถมด้วยงงงวยจนงวยงง


นั้น..คงเป็นความรู้สึกของหลายๆท่านที่อยากวาดภาพ แต่วาดไม่ได้ สักทีในเมื่อสมองสั่งการ
แต่มือเจ้ากรรมไม่ยอมทำตาม ให้ได้ดั่งใจที่มันสั่งมา
ก็เลยจำเป็นต้องจากจรกันไป แต่ยังไม่อยากจากลาจนสิ้นเยื้อใยไปซะทีเดียว

การวาดภาพที่อยู่ในหัวให้ปรากฎออกมาสู่สายตาสาธารณะชน
เหมือนกับมีเครื่องปริ๊นภาพสุดเจ๋งที่เราบรรจงตกแต่งในคอมพิวเตอร์ให้ออกมา สิ่งเหล่านี้ ต้องได้รับการฝึกฝน
ต้องมีพื้นฐานหรือทักษะการวาด สังเกตุ  ความอดทน 
จนถึงจิตใจที่มุ่งมั่นอย่างแรงกล้ายิ่งกว่าการขอตังค์แม่ซื้อขนมในสมัยอนุบาล

การฝึกทักษะต้องใช้ความอดทน ไม่ว่าจะเป็นทักษะใดๆก็ตาม ตั้งแต่ศิลปะ ดนตรี หรือกีฬา
เพราะ ฉะนั้นหากเราจะจับดินสอ แล้วให้วาดเก่งเหมือนดาร์วินชี กลับชาติมาเกิดนั้นคงเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่มีพื้นฐานการฝึกฝนใดๆมาก่อน ถึงแม้จะรักมากมายขนาดไหนก็ตาม

ใจเย็นๆ...พี่น้อง ผองเพื่อน

ก่อนจะวาดรูปใดๆให้ได้ดั่งใจปราถณานั้น
ควรฝึกพื้นฐานเหล่านี้ก่อนแล้วค่อยวาด ฝึกให้ชำนาญ
จนสามารถควบคุมมือให้ลากเส้นได้
ลากจนเส้นตรงให้ตรง เฉียงให้เฉียง กลมก็ต้องให้กลมจริงๆ
ก่อนที่จะวาดภาพต่อไป

ถ้าไม่ฝึกพื้นฐานแบบนี้ก่อน อาจทำให้เราหงุดหงิด หงุนหง่าน จนงอแง
เมื่อเราไม่สามารถบังคับเส้น หรือกล้ามเนื้อมือให้ได้ดั่งใจได้ปราถณา


เวลาจะลากเส้นตรงดันเบี้ยวเป็นรูปหนอนหนีตาย 
จะหมุนให้กลมเหมือนแสกปั้น กลายเป็นรูปก้อนดินเหนียวร่วงพื้นบิดไปมา
หรือการพึ่งพาแต่การดราฟจนทำให้ไม่สามารถออกไปสเก็ตภาพที่ไหนได้
จะวาดภาพ land scape ,sea scape,potrait ที เกร็งจนข้อมือติดขัดเหมือนคอมพิวเตอร์โดนไวรัส
ร่างกายคล้ายๆถูกสะกดให้นิ่งอยู่กับที่
เหมือนผีจีนที่โดนยันต์แปะหน้าผากให้ยืนสงบอยู่ตรงหน้ากระดาษหรือผืนผ้าใบโดยไม่กล้าทำอะไร

ในที่สุดเราก็จะเลือกล้มความตั้งใจไปโดยอัตโนมัติ
กลายเป็นโดนยึดความมั่นใจไปเหมือนกับการโดนเครื่องกดเงินยึดบัตร
เพราะขาดความอดทนกับเราที่ไม่ยอมจำระหัสให้ดี




อุปกรณ์ง่ายๆ ไม่กี่อย่างที่ต้องเตรียม
สำหรับการฝึกมือเพื่อเตรียมตัวสร้างผลงานช๊อคโลกในอนาคต
1. ดินสอ EE+คัดเตอร์
2. กระดาษบรูฟ+กระดานสเก็ต
3. ยางลบ ที่พกมาไว้เพื่ความมั่นใจเหมือนกับการสวมพระไว้กันผี
4. ใจ แบบไม่ต้องเอาปอดมาด้วย

เมื่อเตรียมของเสร็จ ก่อนที่ท่านจะจับดินสอเพื่อเริ่มภาระกิจการวาดภาพเพื่อยกระดับจิตวิญญานของมวลมนุษย์แล้ว
ควรบริหารมือก่อน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องหรือการหยอดน้ำมันให้ลื่นไหล ทั้งกายและใจ

การบริหารก็เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อมือ ที่เกร็งเป็นวงเวียนโดนสนิมให้คล่องแคล่ว ว่องไว
เพื่อที่จะสามารถวาดผลงานสะกดโลกชิ้นโบแดงของเราได้อย่างเต็มพลัง ยิ่งกว่าโงกุนกับผู้เฒ่าเต่า

สลัดๆๆๆ พัดโบกมือไปมา โบกให้พริวไหวประดุจใบไม้ที่ปลิวไปตามลม
เสมือนจอมยุทธน้อยที่กำลังจะตะลุยโลดแล่นออกสู่โลกกว้าง
ด้วยการบิดขี้เกียจให้เต็มที่ หมุนที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อแขน หัวไหล่ บริเวณเอวตรงกล้ามเนื้อใหญ่
ที่หลายๆท่านใช้ในการหมุนเพื่อกำหนดวงสวิงเวลาเล่นกอล์ฟ




มาถึงการจับดินสอ
มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัด
แต่ที่ผมอยากแนะนำให้ลองฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
1. จับแบบเขียนหนังสือ
   - ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ
   - วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร
   - เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง
2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ
3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง
4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด

ได้โปรด กรุณาอย่าใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่งล๊อคดินสอ
พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุด
โดยนิ้วแค่เป็นตัวประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งใน
มือของเราที่จะบังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้ตามใจปรารถณา
เหมือนกับเวลาใช้นิ้วก้อยแคะขี้มูก




อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย
เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด
และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้ผมจะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน
แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น




เริ่มฝึก

1. ลากเส้นตรงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
2. ลากเส้น แนวเฉียงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
3. ลากเส้นแนวนอน โดยจับให้ดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัส โดยให้ขนานไปแนวเดียวกับเส้นจะได้เส้นที่ตรง เพราะดินสอได้ถูกประคองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกด้วยนิ้วทั้งห้าของเราแล้ว
4. ตวัดปลายดินสอบนกระดาษด้วยเส้นโค้งสลับกับเส้นที่หมุนวน จนเข้าใจในน้ำหนัก เน้นหนัก เบา ให้ได้อารมณ์ของเส้นเหมือนสายน้ำที่กำลังเลื่อนไหล อย่างไม่หยุดนิ่ง




จากนั้นเราก็จะมาเริ่มฝึกการใช้จินตนาการในกรสร้างขนาดและสัดส่วนของภาพ
เพื่อการที่เราจะสามารถวาดภาพจากต้นแบบได้โดยเข้าใจสัดส่วนและการย่อหรือขยายในขนาดของภาพ

มองเป็นเส้น

ไม่ใช่เด็กเส้น แต่เป็นการฝึกการมองภาพข้างหน้าเราแล้วใส่เส้นเข้าไปในภาพนั้น ว่า...
ขนาดรูปร่างสั้นยาวแค่ไหน แบ่งครึ่ง แบ่งเป็นสามหรือสี่ส่วน
ซึ่งในการฝึกฝนแบบนี้ต้องใช้จินตนาการเป็นสำคัญ คือให้มองให้เห็นเส้นในอากาศที่เราสร้างขึ้นมาเอง
จากนั้นก็ทดลองลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ
กำหนดด้วยตัวเอง ลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง




หาเป็นองศา

เพื่อความง่ายในการร่างภาพ ในการกำหนด ระยะ ขนาด รูปร่าง ระนาบ
หรือพื้นที่ เช่น ของที่วางซ้อนกัน
ถ้ามองเป็นองศาแล้วอยู่ประมาณกี่อาศา
จากนั้นก็ลองนำไม้โปร มาวัดว่าที่เราเดาไว้น่ะแม่นหรือไม่แม่น

การลงน้ำหนัก
ใช้ดินสอ EE ตีกรอบ เพื่อฝึกการไล่น้ำหนัก 6 น้ำหนัก
จากนั้นก็แบ่งครึ่งในช่องน้ำหนักทั้ง 6 ไปเรื่อยๆ
จนสามารถกระจายน้ำหนักได้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ
การลงน้ำหนักนี้ก็เพื่อที่ว่าเราจะสามารถทำให้เกิด ความลึก ระยะ
หรือมิติ เพราะตัวน้ำหนักนี้เอง สามารถทำให้เกิดภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้

ถ้าเราไม่รู้จักน้ำหนัก หรือไม่สามารถควบคุมน้ำหนักมือของเราได้
ก็จะสามารถมิติพิศวงให้กับผู้ชมงานรวมทั่งตัวเราเองได้เหมือนกัน






ทีนี้ก็เริ่มร่างวงกลม
ที่เราพยายามร่างมาตั้งแต่ครั้งแรก แต่คราวนี้เราจะเริ่มลงน้ำหนักวัตถุให้กลม โดยรู้จักค่าของแสง+เงา
ที่สำคัญคือต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ
อย่าพยายามทำครั้งเดียวให้เข้ม พยายามกระจายน้ำหนัก ให้ชัดเจนขึ้น
จนกระทั่งเสร็จจากนั้นถึงทำการเน้นจุดที่เข้มที่สุดในภายหลัง

จากนั้นก็ฝึกๆๆๆๆ ฝึกจนชำนาญ
ก่อนที่เราจะออกไปตะลุย Drawing ทุกอย่างที่ขวางหน้าต่อไป.....

วิธีการระบายสีเทียน

1 ความคิดเห็น
การลงสีเทียนหรือ Oil pastel นั้นเนื่องจากตัวเนื้อสีเองมีน้ำมันมาก
กว่าสีชอล์คการลงซ้อนหรือแก้ไขจะทำได้ยากกว่าจึงต้องแม่นเรื่อง
การร่างซึ่งใช้ทักษะการ Drawing เราเริ่มลงสีวัตถุของหุ่นนิ่งก่อน
จากนั้นค่อยเก็บรายละเอียดในส่วนของผืนผ้าที่เป็นฉากและ พื้นหลัง
ตามลำดับ ท้ายสุดทำการเน้นสีเข้ม, เงา และ บรรยากาศ ที่สะท้อน
ในวัตถุ ตามลำดับ ในคลิป อาจารย์ชัยยันต์ ได้ทำการลงสีเทียนบน
กระดาษที่ใช้สำหรับเขียนภาพสีชอล์ค กึ่งหยาบครับ



อาจารย์ชัยยันต์ได้ฝากบอกว่าการสเกตภาพแบบหุ่นนิ่ง(Still life)
นี้จะง่ายในการฝึกสังเกตุแสง,สี,เงาของวัตถุเพราะหุ่นที่เราจัดไว้หรือ
แสงที่จัดส่องจะสังเกตได้ง่าย หากฝึกฝนจนชำนาญเราจะไม่มีปัญหา
ตอนออกไปวาดภาพนอกสถานที่ครับ..

ภาพที่เสร็จสมบูรณ์...
"การเน้นและคัดเงาเป็นเสน่ห์ของสีเทียน "......
ขอขอบคุณอาจารย์ชัยยันต์ ที่ปรึกษา ชมรม คนรักษ์ศิลป์ วิทยาลัย
สารพัดสี่พระยา
ที่มาhttp://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99&hl=th&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=_GUkUeLXF8X7rAe63YGIDA&sqi=2&ved=0CAcQ_AUoAQ&biw=1366&bih=630

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การระบายสีน้ำ

0 ความคิดเห็น

การระบายสีน้ำ


นิสีน้ำ 

การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมสีน้ำ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจคุณสมบัติของสีน้ำ และต้องสามารถควบคุมได้ การลงมือทดลองจะเห็นธรรมชาติ และความเป็นไปของมัน การฝึกฝนจะทำให้รู้จังหวะและควบคุมได้ เทคนิคพื้นฐานการระบายสีน้ำ 5 ประการนี้ จะทำให้ผู้เริ่มต้นรู้จักสีน้ำอย่างถ่องแท้และสามารถนำไปสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมสีน้ำที่สมบูรณ์ ได้อย่างแน่นอน

ปีปี (Wet ON Wet)  : คือ สีเปียก (สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว) วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี (ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปียกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนที่เกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา  
ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเลได้  ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้ ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้ สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรีย

ปีห้ (Wet ON Dry) : เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบ
                                                                           ดังนี้

รีสีดี (Flat wash) : โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสีไหลลงไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้

รีสี (Colour wash) : ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อที่ใต้คราบน้ำขณะที่เปียกอยู่ ผลที่ได้คือ สีต่างๆ จะมีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุ ทั้งการระบายเรียบสีเดียว และ หลายสี เป็นพื้นฐานของงานสีน้ำที่นำไปใช้ระบาย ให้เกิดภาพแล้วแต่ว่าจะให้เป็นสีเดียว หรือหลายสี เช่น ภาพคนใส่เสื้อผ้า ก็ต้องเป็นระบายเรียบหลายสี

รีอ่ก่ (Grade wash) : เป็นการระบายให้เกิดค่าน้ำหนักของสี จะเริ่มจากอ่อนไปหาแก่ หรือ จากแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ถ้าเริ่มจาก แก่ไปหาอ่อน ก็ผสมสีให้ข้นกว่าปกติ แล้วระบายเรียบได้ช่วงหนึ่งให้ล้างพู่กันจนสะอาดแล้วจุ่มน้ำมาระบายใต้คราบน้ำเป็นระยะๆให้สีจางลงไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มจาก อ่อนไปหาแก่ ให้ผสมสีเจือจางแล้วระบายเรียบไปช่วงหนึ่ง ก็เพิ่มสีให้มีความเข้มข้นขึ้น แล้วระบายต่อใต้คราบน้ำลงมา เป็นระยะๆ ให้สีเข้มขึ้นการระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ระบายให้เกิด มิติ แสง-เงา

ห้ห้ (DRY ON DRY) : เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่น เมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่าง ด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้ม ลงไปเราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ DRY ON DRY

ลื (Glazing) 

       เป็นการระบายทับซ้ำสีที่แห้งสนิทแล้วด้วยสีเดิมที่เข้มกว่า โดยสีที่ระบายเคลือบนี้ควรต้องเป็นสีโปร่งแสง ผลที่ได้คือ ส่วนที่ระบายเคลือบจะเป็นพื้นและส่วนที่เว้นไว้จะเป็นรูป ซึ่งรูปกับพื้นนี้จะมีความขัดแย้งหรือตัดกันเสมอ คือถ้าพื้นเข้มรูปต้องอ่อน ถ้าพื้นอ่อนรูปต้องเข้ม เทคนิคการระบายเคลือบนี้นำไปใช้ สร้างรูปทรง ผลักระยะให้ลึกตื้น  สร้างเงา ลดความจัดจ้านของสีบรรยากาศ  

ชัรื (Hard edge/Soft edge) 

Hard edge : เป็นการระบายให้เกิดการตัดกัน แบ่งขอบเขตระหว่างรูปกับพื้นหรือพื้นกับรูปอย่างชัดเจน หรือให้เกิดเป็นเหลี่ยมเป็นสัน วิธีการ คือระบายเป็นขอบตามที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีเขียนภาพทิวทัศน์ที่มีบ้าน
ในสวน เราให้ส่วนที่เป็นหลังคาเว้นขาวไว้เพราะเป็นส่วนที่รับแสง ถัดจากหลังคาไปเป็นบรรยากาศก็ให้ใช้สีของบรรยากาศเพิ่มความเข้มระบายกดระยะลงไปเป็น Hard edgeเพื่อให้ตัวบ้านและบรรยากาศโดยรอบตัดกันเป็นขอบคมชัด แยกสัดส่วนกันเพื่อให้บ้านดูลอยเด่นขึ้นมา 

Soft edge : การเจือจางขอบเขตระหว่างพื้นกับรูปบางส่วนให้ดูกลมกลืนกัน วิธีการคือใช้น้ำมา soft ตรงเส้นขอบให้เกิดการเจือจาง เทคนิคนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความขัดแย้งให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีระบายภาพคลื่นในทะเล บางจุดของคลื่นจะมีน้ำทะเลตัดกับฟองอย่างชัดเจน และบางจุดที่ต่อเนื่องจะมีความกลมกลืนกัน เพราะฟองคลายตัวลงหรืออาจเป็นส่วนที่รับแสง ตรงส่วนนี้ให้เราSoft edge โดยใช้น้ำมาSoft เพื่อละลายเส้นขอบแสดงความกลมกลืนได้
เทคนิคทั้ง 5 นี้มีความสำคัญที่คนสีน้ำต้องมี เมื่อเข้าใจถึงวิธีการ และประโยชน์การนำไปใช้แล้วจง หมั่นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพราะไม่เพียงสำคัญกับผู้เริ่มต้นเท่านั้น ถึงวันที่เป็นศิลปินระดับโลกแล้วก็ยังคงต้องใช้เทคนิคทั้ง 5 นี้

                                                                    ที่มา
                                       http://www.thaigoodview.com/node/46609

สีเทียน สีชอล์ค สีพาสเทล

0 ความคิดเห็น
หลายวันก่อนไปขุดเอาสีที่ซื้อมาจากเมืองนอกเมื่อนานแล้วมาลองระบายดูเพราะนึกว่าเป็นสีชอล์คหรือไม่ก็พาสเทล มี 12 สี รูปลักษณ์ของสีนั้นไฮโซยิ่งนัก ไส้สีเป็นแท่งขนาดใหญ่กว่าไส้สีไม้อยู่ในด้ามพลาสติกใสยาวกว่าปากกา สีที่ระบายไปเมื่อทู่ก็สามารถหมุนขึ้นมาได้คล้ายแท่งลิปสติก สะดวกแถมไม่เลอะมืออีกด้วย ระบายไปก็เริ่มเอะใจว่ามันไม่ใช่สีชอล์ค เพราะมันไม่มีกลิ่น เนื้อสีก็แข็งมากๆ เป็นมัน ถูสีด้วยนิ้วก็ไม่ผสมเข้าหากัน ภาษาที่กล่องก็เป็นภาษาต่างด้าว (색연필 แปลได้ความว่าดินสอสี) ที่ทำเอางงก็คือพอระบายเนื้อสีหนาหลายชั้นเข้าแล้วสามารถขูดออกได้ จึงไม่น่าจะเป็นดินสอ ก็เลยลองมานั่งทบทวนจากประสบการณ์ แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสีทั้งสามชนิดนี้ที่ส่วนมากมีหน้าตาคล้ายๆกันมาเล่าสู่กันฟัง
คุณสมบัติทั่วไป
สีเทียน (Wax Oil Crayon)
เมื่อแรกซื้อแท่งสีมักมาในรูปปลายเรียว ไม่มีกลิ่น เนื้อสีแข็งคล้ายเทียน เป็นมัน ไม่ละลายน้ำ ระบายแล้วขึ้นเงา ขูดเนื้อสีออกได้เมื่อหนา ไม่สามารถ blend สีโดยการถูได้
เกรดธรรมดา---เกรดศิลปิน
สีชอล์ค (Oil Pastel หรือ Oil Crayon)
เกรดธรรมดา เมื่อแรกซื้อแท่งสีมักมาแบบปลายตัด มีกลิ่น เนื้อสีเหนียวกว่าสีเทียน มีทั้งแบบละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ขูดเนื้อสีออกได้เมื่อหนา blend สีโดยการถูได้
เกรดศิลปิน เมื่อแรกซื้อแท่งสีมักมาแบบปลายตัด เนื้อสีเหนียวนุ่มและมีกลิ่นจางกว่าเกรดธรรมดา มีข้อความ Artist(s) Oil Crayon แสดงถึงเกรดศิลปิน มีทั้งแบบละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ขูดเนื้อสีออกได้เมื่อหนา blend สีโดยการถูได้
Soft Pastel---Hard Pastel
สีพาสเทล สีชอล์คฝุ่น หรือเกรยองสี (Chalk Pastel Crayon)
มีทั้งแบบแท่งกลมและแท่งเหลี่ยมแข็ง แบ่งชนิดออกเป็น Soft Pastel และ Hard Pastel มีกลิ่นจางๆ มีสีนุ่มนวล ขณะระบายจะรู้สึกฝืดๆ เนื้อสีจะป่นออกเป็นผงละเอียดคล้ายชอล์ค สามารถ blend สีโดยการถูได้ บางยี่ห้อมีแบบที่ละลายน้ำได้ด้วย สีพาสเทลมีทั้งเกรดศิลปินและเกรดธรรมดา
Soft Pastel มักมาในรูปแท่งกลม(ยกเว้นเกรดธรรมดา) ประกอบด้วยผงเนื้อสีที่มากกว่า Hard Pastel ทำให้สามารถสร้างพื้นผิวได้ดีและมีสีสันนุ่มสบายตา ง่ายต่อการ blend สีโดยการถู (smudging) ด้วยนิ้วมือหรือวัสดุอ่อนนุ่มอื่นๆได้ ผงสีที่ป่นมากๆของ Soft Pastel อาจเป็นปัญหาสำหรับบางคนเหมือนกัน เนื่องจากอาจเกิดการเสียดสีหรือถูไถโดยไม่ตั้งใจจนภาพเลอะ ดังนั้นเมื่อเสร็จงานแล้วสามารถพ่น fixative spray เพื่อรักษาภาพไม่ให้ผงสีหลุดร่วง แต่การพ่นสเปรย์ก็อาจทำให้ภาพมีสีที่หม่นลงได้ การเก็บภาพสีพาสเทลที่ดีที่สุดจึงต้องเก็บให้พ้นฝุ่นละอองและความชื้น
Hard Pastel ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยผงเนื้อสีที่น้อยกว่าชนิด Soft แท่งสีที่มีเนื้อแข็งทำให้ทำงานได้ง่าย มีโทนสีเข้มสดใส เก็บรายละเอียดงานได้ดีกว่า Soft Pastel เพราะสามารถเหลาให้แหลมได้ นิยมใช้ในการร่างภาพและลงสีฉากหลัง
ดินสอสีพาสเทล
ปัจจุบันสีพาสเทลมีการผลิตให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้นโดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับดินสอสีไม้จนแยกแทบไม่ออก แต่ลักษณะไส้เนื้อสีจะเหมือนพาสเทลทุกประการ ต้องสังเกตดูที่ด้ามดินสอจะเขียนว่า Pastel พวกดินสอดรออิ้ง (Drawing) ที่ไส้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ สีก็จะนุ่มนวลคล้ายเนื้อพาสเทลเหมือนกัน ข้อดีคือเขียนแล้วไม่ต้องกลัวเลอะมืออย่างชนิดแท่งชอล์ค     blend สีโดยการถูได้ตามปกติ และยังสามารถเหลาให้แหลมได้เช่นเดียวกับดินสอสีธรรมดา
ความแตกต่างระหว่างดินสอสีไม้กับดินสอสีพาสเทล คือ คุณสมบัติของไส้ดินสอ ดินสอสีไม้ธรรมดาเมื่อระบายทับกันหลายๆครั้ง สีจะขึ้นเงา และจะไม่สามารถระบายทับได้อีก ผงเนื้อสีไม้แทบจะไม่มีการหลุดร่อนออกจากกระดาษเลย ในขณะที่ดินสอสีพาสเทล ไส้ดินสอจะเป็นเนื้อพาสเทลที่สามารถระบายทับกันได้เรื่อยๆ แต่ผงเนื้อสีไม่ค่อยยึดติดกับผิวกระดาษนักโดยเฉพาะกระดาษผิวเรียบ
 ********************************************
หลายคนคงรู้จักสีเทียนกันมาตั้งแต่เด็กๆ จริงๆแล้วสีเทียนเป็นสีที่ระบายค่อนข้างยากเพราะเนื้อสีแข็ง ระบายทับได้ไม่กี่ครั้งก็ขึ้นเงา ระบายทับอีกก็ไม่ติดสี สีเทียนเป็นสีที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก เพราะไม่มีกลิ่น ราคาย่อมเยา แท่งสีที่หนาและแข็งทำให้ไม่หักง่าย ใช้ระบายเนื้อที่กว้างได้ดี เหมาะจะให้เด็กเล็กใช้ระบายเล่นเพื่อสร้างประสบการณ์เรื่องสีในปฐมวัย
จำได้ว่าสมัยเด็กๆชอบระบายสีเทียนมาก แต่หงุดหงิดที่มีเฉดสีน้อย ระบายทับก็ไม่ได้ดังใจ เลยเลิกใช้ไปตอนช่วงประถม ต่อมาตอนประถมปลายได้รู้จักสีชอล์ค ก็ใช้สีได้สนุกขึ้น ถูสี ขูดสีได้ดังใจ สีชอล์คมีเทคนิคหลากหลาย ถ้าใช้เป็นจะสนุกมาก ยิ่งภายหลังมีสีชอล์คชนิดที่ละลายน้ำได้ เอ็ฟเฟ็คสีชอล์คก็ยิ่งมีมากขึ้นกว่าเดิม สีชอล์คไม่สามารถใช้เก็บรายละเอียดได้มาก แต่ถ้ามีสมาธิมากพอก็สามารถวาดภาพที่น่าประทับใจได้เหมือนกัน สีชอล์คไม่ค่อยเหมาะสำหรับเด็กเล็กมากๆเพราะมีกลิ่นที่ไม่น่าพอใจเท่าไร แถมเวลาถูสีด้วยนิ้วสีจะเลอะมือคล้ายเปื้อนน้ำมัน ล้างออกยาก สีชอล์คมีแบ่งเป็นเกรดธรรมดาและเกรดศิลปิน ราคาและคุณภาพขึ้นอยู่กับเกรดและยี่ห้อ
ขยับขึ้นมาอีกชนิดก็เป็นสีพาสเทล สีชอล์คฝุ่น หรือเกรยองสี ถ้าใครเคยเขียนรูปด้วยเกรยองสีดำคงนึกออกว่ามันเลอะขนาดไหน เพราะเนื้อสีที่ระบายแล้วออกเป็นผงๆ การเขียนสีพาสเทลจึงต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะสามารถเลอะมือจนไปเปื้อนภาพที่กำลังเขียนได้ สีพาสเทลมีลักษณะเป็นแท่งแข็ง แต่ให้เอ็ฟเฟ็คสีที่นุ่มนวลมาก สามารถ blend สีโดยการถูด้วยนิ้วได้   ปัจจุบันสีพาสเทลมีลักษณะคล้ายดินสอสี ทำให้เขียนได้สะดวกกว่าเดิม แถมเส้นยังดูคมไม่ต่างจากดินสอ ศิลปินที่มีชื่อเสียงในบ้านเราก็นิยมใช้ดินสอสีพาสเทลกันอย่างแพร่หลาย
การระบายสีพาสเทลมักไม่นิยมระบายบนกระดาษสีขาว เพราะเนื้อสีที่บางเบาจึงเหมาะจะใช้ระบายบนกระดาษที่มีสีเข้มๆ อาศัยสีของกระดาษเป็นน้ำหนักกลาง แล้วระบายสีพาสเทลให้สว่างขึ้น แต่งน้ำหนักเข้มให้เข้มขึ้นกว่าสีกระดาษไม่มากจะได้ภาพสีที่นุ่มนวล การใช้กระดาษสีมาระบายสีพาสเทลต้องอาศัยความชำนาญมากพอสมควร หากเทียบกับการระบายบนกระดาษสีดำหรือสีกรมท่าซึ่งเป็นสีที่มีน้ำหนักเข้มสุด การระบายบนกระดาษสีเข้มมากๆจะง่ายกว่าเพราะจะถือเอาสีของกระดาษเป็นน้ำหนักเข้มสุดแล้วค่อยระบายสีให้มีน้ำหนักสว่างขึ้นตามลำดับ สีพาสเทลมีทั้งเกรดธรรมดาและเกรดศิลปิน ราคาค่อนข้างแพง
สุดท้ายก็เลยได้ข้อสรุปว่าสีที่ซื้อมาโดยไม่รู้ว่าเป็นสีอะไรนั้น จริงๆแล้วคือ"สีเทียน"นั่นเอง
 
Sleep Without RestWax oil on Fabriano INGRES pastel paper
35 x 50 cm
East Meets WestOil pastel on Fabriano Ingres pastel paper
35 x 50 cm
 
ทีมา

ศิลปะการใช้สี

0 ความคิดเห็น

ศิลปะการใช้สี : ความรู้สึกของสี



สีต่างๆ ที่เราสัมผัสด้วยสายตา จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเรา ทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเราจะ ทำอย่างไร จึงจะใชสี้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เราจะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึก ต่อมนุษย์อย่างไร ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้ดังนี้

สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสำคัญ อันตราย
สีแดงชาด จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง
สีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี
สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม สดชื่น สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
สีเขียวแก่ จะทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าใจความแก่ชรา
สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน
สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน
สีคราม จะทำให้เกิดความรู้สึกสงบ
สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์
สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ
สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน
สีชมพู ให้ความรู้สึก อบอุ่น อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก เอาใจใส่ วัยรุ่น หนุ่มสาว ความน่ารัก ความสดใส
สีไพล จะทำให้เกิดความรู้สึกกระชุ่มกระชวย ความเป็นหนุ่มสาว
สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน
สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า สิ่งสำคัญ ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย การแผ่กระจาย
จากความรู้สึกดังกล่าว เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไในชีวิตประจำวันได้ในทุกเรื่อง และเมื่อต้องการสร้างผลงาน ที่เกี่ยวกับการใช้สี เพื่อที่จะได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการในการสื่อความหมาย และจะช่วยลดปัญหาในการ ตัดสินใจที่จะเลือกใช้สีต่างๆได้ เช่น
           1. ใช้ในการนแสดงเวลาของบรรยากาศในภาพเขียน เพราะสีบรรยากาศในภาพเขียนนั้นๆ จะแสดงให้รู้ว่า เป็นภาพตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนบ่าย เป็นต้น
           2. ในด้านการค้า คือ ทำให้สินค้าสวยงาม น่าซื้อหา นอกจากนี้ยังใช้กับงานโฆษณา เช่น โปสเตอร์ต่างๆ ช่วยให้จำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
           3. ในด้านประสิทธิภาพของการทำงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ถ้าทาสีสถานที่ทำงานให้ถูกหลักจิตวิทยา จะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าทำงาน คนงานจะทำงานมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
           4. ในด้านการตกแต่ง สีของห้อง และสีของเฟอร์นิเจอร์ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสว่างของห้อง รวมทั้งความสุขในการใช้ห้อง ถ้าเป็นโรงเรียนเด็กจะเรียนได้ผลดีขึ้น ถ้าเป็นโรงพยาบาลคนไข้จะหายเร็วขึ้น
ที่มา