วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคนิคการแรงเงา

เทคนิคการแรเงาน้ำหนัก

การแรเงาน้ำหนัก เป็นการวาดเขียนภาพเหมือนจริง ควรเริ่มฝึกการแรเงาภาพ  เพื่อฝึกการเขียนภาพแสดงออกถึงทักษะ ความละเอียดลออในการวาดภาพ การแรเงาสามารถทำให้ภาพดูมีความลึกมีระยะใกล้ไกลและดูมีปริมาตร เปลี่ยนค่าของรูปร่างที่มีเพียง 2 มิติให้เป็น 3 มิติ ทำให้รูปร่างที่มีเพียงความกว้าง-ยาวเปลี่ยนค่าเป็นรูปทรงมีความตื้นลึกหนา บางเกิดขึ้น

การเขียนภาพแสงเงา ผู้เขียนจำต้องเข้าใจการจัดน้ำหนักอ่อนแก่ให้ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักของแสง ที่ตกกระทบผิววัตถุ เพราะความแตกต่างของน้ำหนักทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันไปได้ เช่น น้ำหนักสีที่อ่อนให้ความรู้สึกเบา น้ำหนักสีที่แก่ทำให้ดูแล้วรู้สึกหนัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดระยะใกล้-ไกล ในการมองเห็น ตลอดจนความรู้สึกด้านความงามในทางศิลปะ
ในบทความนี้นำเสนอวิธีการแรเงา เป็นพื้นฐานการศึกษาเบื้องต้น ดังนี้

เทคนิคการแรเงา

1.  หรี่ตาดูวัตถุที่เป็นหุ่น กำหนดพื้นที่แบ่งส่วนระหว่างแสงเงาออกจากกันให้ชัดเจนด้วยเส้นร่างเบาๆบนรูป ทรงของภาพร่างที่วาดไว้นั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคร่าวๆ คือ แสงกับเงาเท่านั้น

2.  แรเงาน้ำหนักในส่วนพื้นที่ที่เป็นเงาทั้งหมด ด้วยน้ำหนักเบาที่สุดของเงาที่ตกทอดบนวัตถุ และเว้นพื้นที่ส่วนที่เป็นแสงไว้

3.  พิจารณาเปรียบเทียบน้ำหนักที่เบาที่สุดกับน้ำหนักที่เข้มในส่วนขึ้นอีก เท่าใด แล้วแบ่งน้ำหนักเงาที่อ่อนกับเงาที่เข้มขึ้นด้วยวิธีร่างเส้นแบ่งพื้นที่ เบาๆ เช่นกันกับข้อ 1 จากนั้นก็แรเงาเพิ่มน้ำหนักในส่วนที่เข้มขึ้น ตลอดเวลาจะต้องเปรียบเทียบน้ำหนักของเงาที่ลงใหม่กับเงาอ่อนและแสงที่เว้น ไว้อยู่เสมอเพื่อให้การแรเงาน้ำหนักได้ใกล้เคียงความเป็นจริง การแรเงาน้ำหนักต้องลงรวมๆ ไปทีละน้ำหนัก จะทำให้คุมน้ำหนักได้ง่าย

4.  การแรเงาน้ำหนักที่เข้มขึ้นจะใช้วิธีการเดียวกับข้อ 1 และข้อ 3 จนครบกระบวนการ จะทำให้ได้ภาพที่มีน้ำหนักแสงเงาใกล้เคียงกับความเป็นจริงจากนั้นเกลี่ย น้ำหนักที่แบ่งไว้ในเบื้องต้นให้ประสานกลมกลืนกัน

5.  พิจารณาในส่วนของแสงที่เว้นไว้ จะเห็นว่ามีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับในส่วนของเงาต้องใช้ดินสอลงน้ำหนัก แผ่วๆ ในส่วนของแสงที่เว้นไว้ เพื่อให้รายละเอียดของแสงเงามีน้ำหนักที่สมบูรณ์

6.  เงาตกทอด ใช้หลักการเดียวกับการแรเงาน้ำหนักบนวัตถุที่กล่าวมาแล้ว แต่ต้องสังเกตทิศทางของแสง ประกอบการเขียนแสงในการวาดเขียนปกติจะใช้ประมาณ 45 องศากับพื้น แต่มีข้อสังเกต คือ ถ้าแสงมาจากมุมที่สูง จะเห็นเงาตกทอดสั้น ถ้าแสงมาจากมุมที่ต่ำลง เงาตกทอดจะยาวขึ้น ในส่วนน้ำหนักของเงาตกทอดเองก็จะมีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงเงาบนวัตถุ คือเงาที่อยู่ใกล้วัตถุจะมีความเข้มกว่าเงาที่ทอดห่างตัววัตถุสาเหตุมาจาก แสงสะท้อนรอบๆ ตัววัตถุที่สะท้อนเข้ามาลบเงาให้จางลง

การแรเงาให้เกิดมิติใกล้-ไกล

      ความอ่อน- แก่ของน้ำหนัก นอกจากจะ ใช้เพื่อสร้างมิติให้เกิดความรู้สึก สูง ต่ำ หนา บาง แก่ วัตถุในภาพแล้ว น้ำหนักยังใช้สร้างมิติให้เกิดความรู้สึกใกล้-ไกลของวัตถุในภาพอีกด้วย 

      ค่าน้ำหนักถ้า ใช้ในการสร้างความรู้สึกด้านมิติแก่วัตถุ ค่าน้ำหนักแก่จะให้ความรู้สึกต่ำหรือลึกลงไป ค่าน้ำหนักที่อ่อนจะให้ความรู้สึกที่สูงหรือนูนขึ้นมา

      การสร้างความรู้สึกด้านระยะใกล้-ไกล ระยะ ใกล้จะใช้ค่าน้ำหนักแสงเงาที่ชัดเจนกว่าระยะไกล ระยะกลางก็ใช้ค่าน้ำหนักที่อ่อนลง และระยะไกลก็จะแรเงาให้อ่อนที่สุด หรือเน้นรายละเอียด หรือเส้นให้น้อยกว่าระยะกลางและใกล้







                                               ที่มา
http://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy-ab&q=การแรงเงาภาพ&oq=การแรงเงาภาพ&gs_l=serp.3..0i10l3.278726.293430.0.293934.33.23.3.0.0.4.413.2911.7j15j4-1.23.0...0.0...1c.1.4.psy-ab.NUZGtKOGgXI

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น